วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อกำหนดในการออกแบบระบบประปา


วัตถุประสงค์
                                        ข้อกำหนดในการออกแบบระบบประปาเพื่อการขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้การผลิตและการจ่ายน้ำประปาของบุคคล/นิติบุคคล/หรืออื่น ๆ ที่ต้องการขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทานสามารถผลิตน้ำประปาได้อย่างเพียงพอกับความต้องการน้ำของผู้ใช้น้ำ  และน้ำประปาที่ผลิตได้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาสัมปทาน เพื่อประโยชน์แก่การให้บริการด้านสาธารณูปโภคโดยคำนึงถึงสุขภาพและอนามัยของผู้ใช้น้ำเป็นสำคัญ

คำจำกัดความ
                                              วิศวกร  หมายถึง  วิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณระบบประปาที่ได้รับในอนุญาตประกอบวิชาชีพ  วิศวกรรมควบคุม  ตามพระราชบัญญัติวิศวกร  ..  ๒๕๔๒
                                              ผู้ขออนุญาต  หมายถึง  ผู้ขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทานตามประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  ๕๘  ลงวันที่  ๒๖  มกราคม  ..  ๒๕๑๕
                                              แหล่งน้ำดิบ  หมายถึง  แหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำประปา  เพื่อประกอบกิจการประปาสัมปทาน  โดยได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอยู่ภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับ
                                              น้ำบาดาล  หมายถึง  น้ำบาดาลตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล
                                              รายการคำนวณออกแบบระบบประปา  ได้แก่  รายการคำนวณปริมาณความต้องการใช้น้ำ ระบบน้ำดิบ  ระบบผลิตน้ำและระบบส่งจ่ายน้ำประปา  โดยมีวิศวกรเป็นผู้      รับผิดชอบ
                                              การคำนวณประมาณความต้องการใช้น้ำ  หมายถึง  วิศวกรจะต้องคำนวณปริมาณความต้องการใช้น้ำของโครงการ  ปริมาณน้ำสูญเสียในระบบประปา  ปริมาณความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยต่อวัน  ปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงสุดต่อวัน  และปริมาณความต้องการใช้น้ำในชั่วโมงสูงสุด
                                              กำลังผลิตน้ำประปา  หมายถึง  ปริมาณน้ำประปาที่ผลิตได้จากกระบวนการผลิตซึ่งได้หักปริมาณน้ำสูญเสียต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตน้ำประปา  เช่น  ปริมาณน้ำล้างสารกรอง  ล้างตะกอน  และอื่น ๆ ในระบบผลิตแล้ว
                                              ผังแนวท่อจ่ายน้ำประปา  หมายถึง  แบบแปลนแสดงแนวท่อจ่ายน้ำประปาทุกขนาด  ที่ระบุชนิด  ขนาดท่อ  และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น  ประตูน้ำ  ประตูน้ำระบายอากาศ  ประตูน้ำระบายตะกอน  หัวดับเพลิง  รวมทั้งแสดงความลึกการวางท่อ  เป็นต้น
                                              ผังบริเวณการประปา  หมายถึง  แบบแปลนแสดงขอบเขตของที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารผลิตน้ำประปา  รวมทั้งแสดงขอบเขตของอาคารผลิตน้ำประปา และอาคารอื่น ๆ  ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินดังกล่าว  พร้อมทั้งแสดงขนาดและวัสดุของท่อที่ประสานระหว่างอาคารผลิตน้ำประปาต่าง ๆ ตลอดจนรายละเอียดของอุปกรณ์ประปา  เครื่องยนต์  เครื่องสูบน้ำ  เครื่องกวน  เครื่องจ่ายสารเคมี  และอื่น ๆ นอกจากนี้ให้หมายรวมถึงแผนผังแสดงที่ตั้งของแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาพร้อมโรงสูบน้ำดิบและแนวท่อ  ขนาดและวัสดุของท่อที่ใช้ในการส่งน้ำดิบไปยังอาคารผลิตน้ำประปาด้วย  ถ้าหากที่ตั้งของโรงสูบน้ำน้ำดิบอยู่ภายนอกผังบริเวณการประปาให้แสดงขอบเขตของที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารโรงสูบน้ำดิบ  รวมทั้งแสดงขอบเขตของโรงสูบน้ำดิบ  และอาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินดังกล่าว  และให้แสดงแนวท่อ  ขนาด  และวัสดุของท่อที่ใช้ในการส่งน้ำดิบไปยังอาคารผลิตน้ำประปาด้วย
                                                มาตรฐานคุณภาพน้ำประปา  หมายถึง  มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาสัมปทานที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนด

 ข้อกำหนดทั่วไป
                .  การออกแบบระบบประปาเพื่อการขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทาน  แบ่งตามลักษณะของพื้นที่  ดังนี้
                                .  กรณีพื้นที่ขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทาน มีลักษณะเป็น     โครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือนิคมอุตสาหกรรม  ให้ยึดถือค่าการออกแบบตามรายละเอียดฉบับนี้
                                .  กรณีพื้นที่ขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทาน   ไม่เป็นไปตามข้อ  .  อนุญาตให้ใช้ค่าการออกแบบที่แตกต่างจากค่าการออกแบบฉบับนี้ได้  แต่ต้องแสดงเอกสารหลักฐานเป็นข้อมูลทางวิชาการสำหรับค่าการออกแบบที่แตกต่าง  เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
                .  ผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นรายการคำนวณออกแบบระบบประปา  ซึ่งประกอบด้วย
                                .  ปริมาณความต้องการใช้น้ำ
                                .๒ ระบบน้ำดิบ
                                .  ระบบผลิตน้ำ
                                .  ระบบส่งจ่ายน้ำประปา
                                .  หนังสือรับรองและสำเนาใบประกอบวิชาชีพของวิศวกรผู้ทำรายการคำนวณ   (พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า)
                .  การขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทานจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้าง  โดยมีวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร และความปลอดภัยของระบบต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.๒๕๔๒
                .  มาตราส่วนในการจัดทำแบบแปลน 
                                .  โครงการที่ขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทาน  เป็นโครงการ       หมู่บ้านจัดสรร  ให้ใช้มาตราส่วน  ดังนี้
·       ผังบริเวณการประปา        มาตราส่วนไม่เล็กกว่า   : ๒๕๐
·       ผังแนวท่อจ่ายน้ำประปา   มาตราส่วนไม่เล็กกว่า  ๑ ,๐๐๐
                                .  โครงการที่ขออนุญาตประกอบกิจการประปาสัมปทาน  ไม่เป็นไปตามข้อ  .  ให้ใช้มาตราส่วน  ดังนี้
·       ผังบริเวณการประปา        มาตราส่วนไม่เล็กกว่า   : ๕๐๐
·       ผังแนวท่อจ่ายน้ำประปา   มาตราส่วนไม่เล็กกว่า  ๑ ,๐๐๐

การคำนวณปริมาณความต้องการใช้น้ำ
                .  การคำนวณปริมาณความต้องการใช้น้ำ  (water  demand)  ดังนี้
                                .  ความต้องการใช้น้ำ
                                        ..  ประเภทที่อยู่อาศัย  ตึกแถว  อาคารพาณิชย์  ต้องไม่น้อยกว่า  ๒๐๐  ลิตรต่อคนต่อวัน  โดยคิดจำนวนผู้อยู่อาศัย    คนต่อบ้าน
                                        เพื่อประโยชน์ในการกำหนดปริมาณความต้องการใช้น้ำให้เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ในอนาคต  ให้ที่ดินเปล่าที่มิได้ระบุประเภทการใช้ที่ดินในโครงการจัดสรรที่ดิน  ซึ่งมีเนื้อที่เกินกว่า  ๑๐๐  ตารางวาขึ้นไป  จะต้องนำมารวมเพื่อคำนวณจำนวนแปลงที่ดินใหม่  โดยใช้เกณฑ์เฉลี่ยเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางวา   ต่อ    แปลง  จำนวนแปลงที่ดินที่คำนวณได้จากเกณฑ์เฉลี่ยนี้  ให้นำไปรวมกับจำนวนที่ดินแปลงย่อย  เพื่อใช้ในการกำหนดปริมาณความต้องการใช้น้ำ
หากลักษณะทั่วไปของการจัดสรรที่ดิน  เป็นการแบ่งที่ดินแปลงย่อยเป็นประเภทบ้านแฝด  บ้านแถว  และอาคารพาณิชย์รวมกันเกินกว่าร้อยละ  ๕๐  ของพื้นที่จัดจำหน่ายทั้งโครงการ  ให้ใช้เกณฑ์เฉลี่ยของเนื้อที่บ้านแฝด บ้านแถว  และอาคารพาณิชย์ทุกแปลงในโครงการจัดสรรที่ดินนั้น  เป็นเกณฑ์เฉลี่ยต่อ    แปลง  จำนวนแปลงที่ดินที่คำนวณได้จากเกณฑ์เฉลี่ยนี้ให้นำไปรวมกับจำนวนบ้านแฝด  บ้านแถว  หรืออาคารพาณิชย์  เพื่อใช้ในการกำหนดปริมาณความต้องการใช้น้ำ
                                        ..  ประเภทสถานบริการชุมชน   ในกรณีที่ต้องจ่ายน้ำให้สถานประกอบธุรกิจที่มีความต้องการใช้น้ำมากกว่าปกติ  เช่น  ตลาด  โรงเรียน  คลับเฮ้าส์  เป็นต้น  ให้เพิ่มความต้องการใช้น้ำอีกร้อยละ  20  ของความต้องการใช้น้ำที่คำนวณได้ตามข้อ  ..
                                        ..  ประเภทอุตสาหกรรม
                                                    ต้องไม่น้อยกว่า  ,๕๐๐  ลิตร ต่อเนื้อที่ดิน    ไร่
                                                    กรณีที่มีบ้านพักอาศัยในบริเวณโรงงานให้เพิ่มความต้องการใช้น้ำสำหรับผู้อยู่อาศัยแต่ละหลังตามข้อ  ..
                                .  ปริมาณน้ำสูญเสีย  ในระบบประปา  เท่ากับร้อยละ  ๒๕  ของปริมาณความต้องการใช้น้ำ  ตามข้อ  .
                                .  ปริมาณความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยต่อวัน  (Average  Daily  Demand)  เท่ากับปริมาณความต้องการใช้น้ำ  ตามข้อ  .  รวมกับปริมาณน้ำสูญเสีย  ตามข้อ  .
                                .  ปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงสุดต่อวัน  (Maximum  Daily  Demand)      เท่ากับ  .  เท่าของปริมาณความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยต่อวัน  ตามข้อ  .
                                .  ปริมาณความต้องการใช้น้ำในชั่วโมงสูงสุด  (Maximum  Hourly  Demand)  เท่ากับ  .๒๕  เท่าของปริมาณความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยต่อวัน  ตามข้อ  .      (หน่วยลูกบาศก์เมตรต่อวัน) 

ระบบน้ำดิบ

ส่วนที่  

แหล่งน้ำดิบ

                น้ำผิวดิน  ที่จะนำมาใช้ผลิตน้ำประปาต้องมีศักยภาพเพียงพอกับความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยตลอดทั้งปี  หากศักยภาพของแหล่งน้ำดิบไม่เพียงพอ  ผู้ขออนุญาตจะต้องจัดให้มีสระเก็บน้ำสำรองน้ำดิบให้เพียงพอกับระยะเวลาที่ขาดแคลนน้ำดิบ
                น้ำบาดาล  ที่นำมาใช้ผลิตน้ำประปา  จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล  โดยปริมาณน้ำที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ต่อวันต้องไม่น้อยกว่าปริมาณความต้องการน้ำสูงสุดต่อวัน  ตามข้อ  .
ส่วนที่  

ระบบสูบน้ำดิบ

                เครื่องสูบน้ำดิบ  การคำนวณระบบสูบส่งน้ำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำประปา ให้ใช้อัตราการสูบไม่น้อยกว่ากำลังผลิตน้ำประปา  ตามข้อ  ๑๑  และจะต้องแสดงรายการที่ออกแบบอย่างน้อย ดังนี้
 .   ชนิดของเครื่องสูบน้ำ
 .  อัตราการสูบน้ำ  หน่วยเป็น  ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
 .  ความสูงในการสูบส่ง  (Total  Dynamic Head)  หน่วยเป็น  เมตร
 .  ขนาดของเครื่องสูบน้ำ  หน่วยเป็น  แรงม้าหรือกิโลวัตต์
 .  จำนวนเครื่องสูบน้ำที่ใช้  หน่วยเป็น  ชุด
                                กรณีที่ใช้น้ำบาดาลหรือบ่อน้ำตื้นที่มีคุณภาพน้ำไม่ด้อยกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำประปา  การออกแบบเครื่องสูบน้ำให้เป็นไปตามข้อ  ๑๘.  เครื่องสูบน้ำประปา

ส่วนที่  

ท่อส่งน้ำดิบ

                ท่อส่งน้ำดิบ  การคำนวณขนาดของท่อส่งน้ำดิบ  เพื่อการผลิตน้ำประปาต้องสามารถส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่ากำลังผลิต  ตามข้อ  ๑๑  การเลือกใช้ท่อให้เป็นไปตามข้อ  ๒๐  และจะต้องแสดงรายการอย่างน้อย  ดังนี้
                                .  ขนาดระบุของท่อ  หน่วยเป็น  มิลลิเมตรหรือนิ้ว
.  อัตราการการไหลของน้ำในท่อ  หน่วยเป็น  ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
                                .  ความเร็วของน้ำในท่อ  หน่วยเป็น  เมตรต่อวินาที
                                .  ค่าสัมประสิทธิ์ความฝืด  Cn  
                                .  แรงดันน้ำสูญเสียในเส้นท่อหรือแรงดันน้ำเหลือในเส้นท่อ หน่วยเป็น  เมตร

ระบบผลิตน้ำประปา

ส่วนที่  
ทั่วไป
                ๑๐ระบบผลิตน้ำประปาจะต้องสามารถผลิตน้ำประปาได้ไม่น้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงสุดต่อวัน  ตามข้อ  .  และมีคุณภาพน้ำไม่ด้อยกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำประปา
                ๑๑กำลังผลิตน้ำประปาต่อชั่วโมง  ต้องไม่น้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงสุดต่อวัน  ตามข้อ  .  หารด้วยจำนวนชั่วโมงการผลิตน้ำต่อวัน  ดังนี้
                                ๑๑.  กรณีใช้น้ำผิวดิน  ให้คิดจำนวนชั่วโมงการผลิตสูงสุด  ๒๔  ชั่วโมงต่อวัน
                                ๑๑.  กรณีใช้น้ำบาดาลหรือบ่อน้ำตื้น  ให้คิดจำนวนชั่วโมงการผลิตสูงสุด  ๑๖  ชั่วโมงต่อวัน
                                กรณีที่กำลังผลิตน้ำประปาต่อชั่วโมง  มีเศษส่วนตั้งแต่  .  ขึ้นไปให้ปัดเศษขี้นเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม  และให้ใช้ค่านี้ในการคำนวณ  เครื่องสูบน้ำดิบตามข้อ    เครื่องสูบน้ำประปาตามข้อ  ๑๘.  ขนาดของถังเก็บน้ำตามข้อ  ๑๕ และขนาดของหอถังสูงตามข้อ  ๑๘..
๑๒หากผลทดสอบระบบผลิตน้ำประปา  พบว่าไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้ตามที่ออกแบบในข้อ  .๔ และ/หรือคุณภาพน้ำที่ได้ด้อยกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำประปา  ผู้ขออนุญาตฯจะต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้การผลิตน้ำประปาสามารถผลิตน้ำประปาได้ตามที่วิศวกรได้ออกแบบไว้
ส่วนที่  

กระบวนการผลิตน้ำประปาจากน้ำผิวดิน

๑๓.  การออกแบบระบบผลิตน้ำประปาจากน้ำผิวดิน  แบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ คือ
                                ๑๓.  ลักษณะทั่วไป  (Conventional)  ประกอบด้วยกระบวนการหลัก  ได้แก่  การกวนเร็วและการกวนช้า  การตกตะกอนและการกรอง  ค่าที่ใช้ในการออกแบบขั้นต่ำเป็นดังนี้
                                           ๑๓..  ระบบกวนเร็ว  จะใช้แบบอาศัยหลักการทางชลศาสตร์  (Hydraulic)  หรือแบบอาศัยหลักเครื่องมือกล  (Mechanic)  มีระยะเวลาการกวน  ไม่เกิน    วินาที
                                           ๑๓..  ระบบกวนช้า  จะใช้แบบอาศัยหลักการทางชลศาสตร์  (Hydraulic)  หรือแบบอาศัยหลักเครื่องมือกล  (Mechanic)  มีระยะเวลาเก็บกัก (Detention  Time)  ไม่น้อยกว่า  ๒๐  นาที
                                           ๑๓..  ถังตกตะกอน  จะใช้แบบการไหลในแนวราบหรือแนวดิ่งก็ได้  มีระยะเวลาเก็บกักไม่น้อยกว่า    ชั่วโมง
                                           ๑๓..  ถังกรองทราย  แบบการไหลโดยแรงโน้มถ่วง  (Gravity)  พื้นที่หน้าตัดของทรายกรองต้องเพียงพอที่จะกรองน้ำได้ไม่น้อยกว่ากำลังผลิตต่อชั่วโมง  ตามข้อ  ๑๑.  โดยกำหนดให้อัตราการกรองไม่เกิน    ลูกบาศก์เมตรต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง
                วิศวกรจะต้องแสดงค่าการออกแบบเพื่อประกอบการพิจารณาและจะต้องตระหนักว่าค่าการออกแบบขั้นต่ำตามข้อ ๑๓..  ถึงข้อ  ๑๓..  เป็นเพียงค่าที่คาดว่าจะทำให้สามารถกำจัดความขุ่นทำน้ำให้สะอาดได้  อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสำคัญและสามารถสร้างสภาวะที่เหมาะสมกับการผลิตน้ำประปาประกอบด้วย
                ๑๓.  ลักษณะอื่น  ที่ใช้ค่าในการออกแบบและ/หรือมีกระบวนการผลิตไม่เป็นไปตามข้อ  ๑๓.  วิศวกรจะต้องแสดงค่าที่ใช้ในการออกแบบและรายการคำนวณขนาด  มิติต่าง ๆ ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตน้ำประปา  พร้อมทั้งอธิบายกระบวนการผลิตน้ำประปาโดยละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วย

ส่วนที่  

กระบวนการผลิตน้ำประปาจากน้ำบาดาล

๑๔.  กรณีที่คุณภาพน้ำบาดาลด้อยกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำประปา 
                                ๑๔.  กระบวนการผลิตมีถังกรองทราย  แบบการไหลโดยแรงโน้มถ่วง  (Gravity)  พื้นที่หน้าตัดของทรายกรองต้องเพียงพอที่จะกรองน้ำได้ไม่น้อยกว่ากำลังผลิตต่อชั่วโมง  ตามข้อ  ๑๑.  โดยกำหนดให้อัตราการกรองไม่เกิน   ลูกบาศก์เมตรต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง  วิศวกรจะต้องแสดงค่าการออกแบบเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วย
                ๑๔.  กระบวนการผลิตไม่เป็นไปตามข้อ  ๑๔.  วิศวกรจะต้องแสดงค่าที่ใช้ในการออกแบบและรายการคำนวณขนาด  มิติต่าง ๆ ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตน้ำประปา  พร้อมทั้งอธิบายกระบวนการผลิตน้ำประปาโดยละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณามาด้วย

ส่วนที่  

ถังเก็บน้ำ
                ๑๕.  กรณีที่คุณภาพน้ำดิบด้อยกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำประปา  วิศวกรจะต้อง        ออกแบบให้มีถังเก็บน้ำ   ขนาดความจุไม่น้อยกว่า    ชั่วโมงของกำลังผลิตต่อชั่วโมง  ตามข้อ  ๑๑

ส่วนที่  

ระบบฆ่าเชื้อโรค
๑๖.  วิศวกรจะต้องออกแบบให้มีระบบฆ่าเชื้อโรค  โดยให้แสดงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และรายละเอียดวิธีฆ่าเชื้อโรค  ชนิดและปริมาณสารหรือวัสดุอื่นใดที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคพร้อมรายการคำนวณ

ระบบจ่ายน้ำประปา

ส่วนที่  

ทั่วไป

๑๗.  พื้นที่จ่ายน้ำประปา
   ๑๗.  กรณีพื้นที่ฯอยู่ในเขตความรับผิดชอบของการประปานครหลวง               (เขตกรุงเทพมหานคร  จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ)   ข้อกำหนดการออกแบบท่อจ่ายน้ำ        มาตรฐานท่อและการวางท่อประปา อุปกรณ์ท่อ  เช่น  มาตรวัดน้ำ  ข้องอ  ข้อโค้ง  ฯลฯ  ความลึกในการฝังท่อ  ต้องเป็นไปตามที่การประปานครหลวงกำหนดและผังแนวท่อประปาต้องได้รับการตรวจรับรองจากการประปานครหลวงด้วย
  ๑๗.  กรณีพื้นที่ฯอยู่นอกเขตความรับผิดชอบของการประปานครหลวง  ให้ใช้ข้อกำหนดในการออกแบบท่อจ่ายน้ำตามข้อ  ๑๗..  หรือตามข้อ  ๑๗..  อย่างหนึ่งอย่างใด
 ๑๗..  ข้อกำหนดในการออกแบบท่อจ่ายน้ำ  มาตรฐานท่อและการวางท่อประปา  อุปกรณ์ท่อ  เช่น  มาตรวัดน้ำ  ข้องอ  ข้อโค้ง  ฯลฯ  ความลึกในการฝังท่อ  ต้องเป็นไปตามที่การประปาส่วนภูมิภาคกำหนดและ ผังแนวท่อประปา ต้องได้รับการตรวจรับรองจากการประปาส่วนภูมิภาค 
๑๗..  ข้อกำหนดในการออกแบบท่อจ่ายน้ำ  มาตรฐานท่อและการวางท่อประปา  อุปกรณ์ท่อ ความลึกในการฝังท่อ ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๙ ถึงข้อ ๒๓

ส่วนที่  

ระบบส่งจ่ายน้ำประปา
                ๑๘.  วิศวกรจะต้องออกแบบและแสดงรายการคำนวณระบบส่งจ่ายน้ำประปา  เพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้รับการบริการน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง  ดังนี้
    ๑๘.  เครื่องสูบน้ำประปา  จะต้องแสดงรายการที่ออกแบบอย่างน้อยตามข้อ  .  ถึงข้อ  .  และจะต้องออกแบบให้มีอัตราการสูบจ่ายน้ำประปา  ดังนี้

  กรณีใช้น้ำผิวดิน  ไม่น้อยกว่า  .  เท่าของกำลังผลิต  ตามข้อ  ๑๑. 
                                  กรณีใช้น้ำบาดาลหรือบ่อน้ำตื้น  ไม่น้อยกว่ากำลังผลิต  ตามข้อ  ๑๑.
                                   ๑๘.  หอถังสูง 
  ๑๘..  กรณีออกแบบโดยใช้หอถังสูง  จะต้องมีขนาดความจุไม่น้อยกว่า    ชั่วโมงของกำลังผลิตต่อชั่วโมง  ตามข้อ  ๑๑  และมีความสูงเพียงพอที่จะส่งจ่ายน้ำด้วยอัตราการจ่ายน้ำประปาตามข้อ  ๑๙ โดยยังคงมีแรงดันเหลือในเส้นท่อจ่ายน้ำ ณ จุดที่มีแรงดัน     ต่ำสุดไม่น้อยกว่าข้อ   ๒๒
               ๑๘..  กรณีออกแบบโดยไม่ใช้หอถังสูง   วิศวกรจะต้องออกแบบระบบส่งจ่ายน้ำให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงการใช้น้ำในช่วงเวลากลางคืนซึ่งมีผู้ใช้น้ำจำนวนน้อยและจะต้องออกแบบให้มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องสูบน้ำที่ขับด้วยเครื่องยนต์สำรองไว้   เพื่อให้การส่งจ่ายน้ำประปาสามารถดำเนินการได้ตามปกติ  แม้จะเกิดเหตุสุดวิสัย  เช่น  เกิด เพลิงไหม้หรือ  ไฟฟ้าดับ  เป็นต้น
ส่วนที่  

ท่อจ่ายน้ำประปา

                ๑๙.  ท่อจ่ายน้ำประปาจะต้องสามารถส่งจ่ายน้ำประปาในเส้นท่อได้ไม่น้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำจากข้อ  ๑๙.  หรือข้อ  ๑๙.  โดยให้ใช้ค่าที่มากกว่า
                                   ๑๙.  ปริมาณความต้องการใช้น้ำในชั่วโมงสูงสุด  (Maximum  Hourly  Demand)  ให้เป็นไปตามข้อ  .
                                   ๑๙.  ปริมาณความต้องการใช้น้ำสูงสุดต่อวัน  ตามข้อ  .  บวกด้วยความต้องการน้ำดับเพลิง  (หน่วยลูกบาศก์เมตรต่อวัน)  โดยกำหนดให้โครงข่ายท่อจ่ายน้ำสามารถรองรับปริมาณความต้องการน้ำดับเพลิง  ได้ไม่น้อยกว่า ๙๕๐  ลูกบาศก์เมตรต่อวัน  (๑๑  ลิตรต่อวินาที)
                 ๒๐.  การเลือกใช้ท่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการเลือกท่อเพื่อใช้ในระบบท่อจ่ายน้ำ  ท่อส่งน้ำตามตารางแนบท้ายนี้
                ๒๑.   การออกแบบขนาดท่อจ่ายน้ำ  จะต้องแสดงรายการคำนวณโดยมีรายละเอียด  รายการที่จะต้องแสดงอย่างน้อยตามข้อ  .  ถึงข้อ  .
                ๒๒.  ระบบท่อจ่ายน้ำต้องมีแรงดันน้ำต่ำสุดในเส้นท่อไม่น้อยกว่า    เมตร
๒๓ วิศวกรจะต้องออกแบบอุปกรณ์ท่อโดยใช้ข้อกำหนด  ดังต่อไปนี้
                                   ๒๓.  หัวดับเพลิง  ให้ติดตั้งตามจุดที่เหมาะสม  เช่น  ชุมชน  ตลาด  ร้านค้า  มุมถนน  ทางแยก  เป็นต้น  ขนาดที่ใช้ไม่น้อยกว่า  ๑๐๐  มิลลิเมตร  จำนวนที่ต้องติดตั้งให้คิดจากความยาวรวมของท่อเมนจ่ายน้ำ  ขนาดตั้งแต่  ๑๐๐ มม.ขึ้นไปหารด้วย  ๒๐๐  เศษส่วนที่เกิน  .  ขึ้นไปให้ปัดเพิ่มขึ้นอีก    ชุด
                                   ๒๓.  ประตูน้ำ  ให้ติดตั้งที่ท่อแยกทุกจุดและทุกระยะไม่เกิน  ๕๐๐  เมตร  ขนาดของประตูน้ำให้ใช้ขนาดเท่ากับท่อ
                                  ๒๓.  ประตูน้ำระบายอากาศ  (Air  Valve) ให้ติดตั้งที่ท่อบนสะพานรับท่อและบริเวณที่ท่อถูกยกขึ้นสูงกว่าปกติหรือตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลง  Hydraulic  Grade  Line  อย่างกระทันหัน  มีขนาดไม่น้อยกว่า  ๑ ใน ๖  ของขนาดท่อ
                                  ๒๓.  มาตรวัดน้ำหลัก  (Master  Meter)  ให้ติดตั้งในบริเวณการประปา         อย่างน้อย    ชุด  และต้องสามารถรองรับอัตราการไหลต่อเนื่อง  (Continuous  Flow)  ได้ไม่น้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำ  ตามข้อ ๑๘.                                           

 











มาตรฐานการเลือกท่อเพื่อใช้ในระบบท่อจ่ายน้ำ  ท่อส่งน้ำ


ตารางที่    สภาพพื้นที่วางท่อสามารถแบ่งออกเป็น    ประเภท  ดังนี้
ประเภท
รายละเอียด
ประเภทที่  
ประเภทที่  
ประเภทที่  
พื้นที่วางท่อตามไหล่ทาง  ไม่ต้องรับปริมาณจากจราจรหนาแน่น
พื้นที่ที่วางในดินอ่อน  หรือใต้ผิวจราจรที่รับปริมาณการจราจรอย่างหนาแน่น
พื้นที่ที่วางในดินอ่อนมาก  หรือจำเป็นต้องวางใต้น้ำ  หรือวางในเขตเทศบาลหรือ
ชุมชนหนาแน่น  ซึ่งการซ่อมท่อทำได้ลำบาก

ตารางที่    การเลือกชนิดท่อที่ความดันใช้งานไม่เกิน ๓  กก./ซม2.
เส้นผ่านศูนย์กลาง ท่อ   (มม.)
ดินกัดกร่อนต่ำ หรือปานกลางสภาพพื้นที่ประเภท ๑
ดินกัดกร่อนต่ำหรือปานกลางสภาพพื้นที่ประเภท  
ดินกัดกร่อนสูงสภาพพื้นที่ประเภท ๒
ดินกัดกร่อนสูงสภาพพื้นที่  ประเภท  
สภาพพื้นที่ ประเภท ๓
น้อยกว่า  ๑๐๐

๑๐๐ – ๔๐๐




๕๐๐ หรือ มากกว่า

PVC  Class ๑๓.

HDPE PN .
PVC  Class .
ท่อเหล็กเหนียว
          -

HDPE PN .
ท่อเหล็กเหนียว

PVC  Class ๑๓.

HDPE PN .
PVC Class .
           -
A/C class ๒๐ ทนซัลเฟต

HDPE PN .
               -
PVC  Class ๑๓.

HDPE PN .
PVC Class .
-
-

HDPE PN .
              -
          -

HDPE PN .
-
-
-

HDPE PN .
         -


ตารางที่    การเลือกชนิดท่อที่ความดันใช้งานระหว่าง ๓-  กก./ซม2.
เส้นผ่านศูนย์กลางท่อ   (มม.)
ดินกัดกร่อนต่ำหรือปานกลางสภาพพื้นที่ประเภท ๑
ดินกัดกร่อนต่ำหรือปานกลางสภาพพื้นที่ประเภท  
ดินกัดกร่อนสูง     สภาพพื้นที่        ประเภท ๑
ดินกัดกร่อนสูงสภาพพื้นที่   ประเภท  
สภาพพื้นที่ ประเภท ๓
น้อยกว่า  ๑๐๐

๑๐๐ – ๔๐๐





๕๐๐ หรือมากกว่า
PVC  Class ๑๓.

HDPE PN ๘ หรือ    PN๑๐
PVC  Class .
ท่อเหล็กเหนียว
A/C  class ๒๐

HDPE PN ๘ หรือ
PN ๑๐
ท่อเหล็กเหนียว
PVC  Class ๑๓.

HDPE PN ๘ หรือ    PN๑๐
PVC  Class .
ท่อเหล็กเหนียว
            -

HDPE PN ๘ หรือ
PN ๑๐
ท่อเหล็กเหนียว
PVC  Class ๑๓.

HDPE PN ๘ หรือ         PN๑๐
PVC Class .
          -
A/C  class ๒๐ ทนซัลเฟต

HDPE PN   หรือ
PN ๑๐
             -
PVC  Class ๑๓.

HDPE PN   หรือ PN๑๐
PVC Class .
              -
              -

HDPE PN  หรือ
 PN  ๑๐
          -
       -

HDPE PN ๘ หรือ
 PN ๑๐
       -
       -
       -

HDPE PN หรือ
 PN ๑๐
         -
 ตารางที่ ๔  แสดงค่าสัมประสิทธิ์ความฝืด (Cn)  ของ Hazen-Williams  สำหรับท่อประเภทต่าง ๆ
ประเภท
ค่าสัมประสิทธิ์ความฝืด (Cn)
.    ท่อซีเมนต์ใยหิน
.   ท่อ  PVC
.    ท่อ HDPE
.    ท่อเหล็กเหนียวหรือท่อเหล็กอาบสังกะสี 
                                                                                  
๑๑๐
๑๔๐
๑๔๐
๑๑๐

ตารางที่    มาตรฐานความลึกหลังท่อ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  (มิลลิเมตร)
ความลึกหลังท่อ  ต้องไม่น้อยกว่า  (เมตร)
น้อยกว่า  ๑๐๐
.
๑๐๐
.
๑๕๐
.
๒๐๐
.
๒๕๐
.
๓๐๐
.
๔๐๐
.
๕๐๐
.
๖๐๐
.